วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำใดๆทั้งที่ตนเอง  กระทำหรือผู้อื่นกระทำไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ จะสำเร็จหรือไม่ เช่น ความรับผิดชอบต่องานหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรมีความรับผิดชอบ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัยวุฒิ และคุณวุฒิ
        ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของผู้อยู่ในวัยเรียน คือ รับผิดชอบในการเรียน การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนให้สำเร็จผลด้วยดี และการตั้งใจเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถนั้นประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ต่อไป ในอนาคต ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ผู้ที่มีความรู้จะไม่เป็นปัญหาแก่สังคมและจะสามารถช่วยให้สังคมเจริญขึ้นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนก็จะไม่มีความรู้ อาจไม่มีอาชีพตกงาน  หรือจะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองด้วยความยากลำบาก คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองย่อมมีความโทมนัสใจอย่างยิ่งและตนเองอาจเป็นปัญหาของสังคมได้   เด็กๆที่อยู่ในวัยเรียนควรรับผิดชอบงานเล็กๆน้อยๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมอบหมายให้ทำเช่น ดูแลคุณปู่  คุณย่า  คุณตา  คุณยาย  กวาดบ้าน  ถูเรือน  จัดโต๊ะอาหาร  รดน้ำต้นไม้  ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ฯลฯ  การทำงานเห่านี้นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองแล้ว ยังจะช่วยให้มีโอกาสฝึกการทำงานมีโอกาสคิดหาวิธีทำงานให้สำเร็จเรียบร้อยและเกิดผลดี และยังได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย ทำให้มีสุขภาพดีด้วย   การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวทำให้มีความสุข  และการ
ให้อาหารสัตว์เลี้ยงจะทำให้เด็กมีความอิ่มเอมใจ  ทำให้ชีวิตมีความสุขอันเกิดจากการทำความดีของตนความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของคนเรา คือ ความรับผิดชอบต่อ ตนเอง  การดูแลตนเองไม่ให้หลงไปในทางที่ผิด ให้เป็นคนดีของสังคม ให้มีคุณธรรม
คิดดี พูดดี และทำดี ความรับผิดชอบข้อนี้ประเสริฐยิ่งนัก เพราะจะช่วยทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข


ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด
การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ
 การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง


ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล
ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย   :   ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง   ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน



ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น